ufabet

โรคมาลาเรีย ภัยร้ายอันตรายพรากชีวิต

โรคมาลาเรีย ยุงเป็นพาหะ ภัยร้ายอันตรายพรากชีวิต

เป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ แต่เป็นคนละชนิดกันกับโรคไข้เลือดออก เพราะโรคไข้เลือดออกจะมียุงลายเป็นพาหะ แต่โรคมาลาเรียจะมี “ยุงก้นป่อง” เป็นพาหะนำโรค สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ทำให้ระบาดได้ง่ายเป็นวงกว้าง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มักอาศัยอยู่บริเวณชายป่า ชายเขา จำนวน 400 คน พบว่ามีเชื้อเพราะยุงก้นป่องเป็นยุงที่อยู่ในป่า ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงมากกว่าคนพื้นที่อื่นๆ ในการเกิดโรค ล่าสุดยังพบว่าเมื่อทำการเจาะเลือดกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณายป่าชายเขาจำนวน 400 คน พบว่ามีเชื้อมาลาเรียอยู่ถึง 200 คน เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งกันเลยทีเดียว จึงเป็นปัญหาที่ต้องรีบจัดการให้เหมาะสม สำหรับวิธีป้องกันคือการพ่นยาในพื้นที่ แต่อุปสรรคคือชาวบ้านมักไม่ยอมเพราะกลัวว่าจะมีปัญหากับนกที่ตัวเองเลี้ยงไว้ทำให้ยากแก่การป้องกัน

ufabet

สาเหตุโรคไข้มาลาเรีย

  • โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อ Plasmodium ซึ่งเป็นสัตว์เซลเดียวอยู่ใน class Sporozoa มีวงจรชีวิตอยู่ทั้งในสัตว์มีกระดูกสันหลังและยุง
  • ปัจจุบันในประเทศไทยเชื้อที่พบส่วนใหญ่คือ P.vivax ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการรุนแรง แต่สามารถเป็นๆหายๆจากเชื้อที่มีระยะหลบพักในตัว
  • เชื้อ Plasmodium ที่ก่อโรคในคนมี 5 ชนิด ได้แก่
    • P.falciparum เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมฟัลชิปารัม หรือ พีเอฟ (P.f.) เป็นเชื้อชนิดรุนแรง หากป่วยหนัก อาจมีอาการมาลาเรียขึ้นสมอง ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงตายได้
    • P.vivax เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมไวแวกซ์ หรือ พีวี (P.v.) เป็นเชื้อชนิดไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถอยู่ในร่างกายคนได้นานหลายปี จึงทําให้มีอาการของโรคไข้มาลาเรียเป็นๆ หายๆ
    • P.malariae  เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมมาลาเรอิ หรือ พีเอ็ม (P.m.)
    • P.ovale เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมโอวาเล หรือ พีโอ (P.o.)
    • P. knowlesi เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมโนไซ หรือ พีเค (P.k.)เป็นเชื้อมาลาเรียที่อยู่ในลิงแสม แล้วติดมาสู่คน
    • ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
  • ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย คือยุงก้นปล่อง ( anopheline) โดยเป็นตัวเมียที่นำโรค ยุงก้นปล่องสปีชีส์ที่พบว่านำโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ได้แก่ Anopheles dirus, An.minimus, An. maculatus, An. epiroticus, An. aconitus

ufabet

ระยะของอาการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย

  1. ระยะแรก คือ จะมีอาการหนาวสั่น ตัวเย็น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการเกร็ง ปัสสาวะบ่อย อุณหภูมิค่อยๆ สูงขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 15-60 นาที เป็นระยะการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย
  2. ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 40° ตัวร้อน ลมหายใจร้อน หน้าแดง ปากซีด และกระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็วและแรง ปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา ระยะนี้ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง
  3. ระยะเหงื่อออก เมื่อสร่างไข้ ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะเหงื่อออกและเข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเหงื่อออกใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง

วิธีป้องกัน

  1. ควรนอนในมุ้ง ระวังอย่าให้ยุงกัด
  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิด
  3. ถ้าต้องเข้าไปอยู่ในเขตที่มีไข้มาลาเรียควรกินยาป้องกันไว้ล่วงหน้า

วิธีรักษาโรค

  1. ทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ โดยโรคนี้จะมี 2 อาการซึ่งจะได้รับยาที่แตกต่างกัน อาการแรกคือ ทานยา 3 วัน และอีกอาการคือทานยา 14 วัน ควรทานให้ครบทุกวันตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้หายขาดจากโรค
  2. นอกจากการทานยาบางกรณีแพทย์อาจใช้วิธีการฉีดยาเข้ากระแสเลือด เพื่อทำการรักษา

ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ anenglishrosegarden.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated